ทำความรู้จักกับผู้พูด
กวีวุฒิ (ต้อง) เป็นเจ้าของเพจ แปดบรรทัดครึ่ง เพจเกี่ยวกับความรู้ธุรกิจ เขียนสั้น อ่านง่าย ปัจจุบันคุณต้องเป็นหัวหน้าทีมนวัตกรรมสร้างธุรกิจใหม่ที่ SCB และเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษสอนวิชา Design Thinking for Business Innovation ให้นิสิตจุฬาฯ ที่พิเศษกว่านั้นคือเค้าเป็นคนไทยไม่กี่คนที่ผ่านโครงการ Design Leadership จาก d.school ที่ Stanford University ด้วยฮะ ใครอยากอ่านประวัติเพิ่มเติมดูได้ที่นี่
การระดมสมอง
เนื้อหาในตอนนี้พูดถึงการระดมสมองหรือที่เราเรียกว่า Brainstorming เราจะทำยังไงให้การระดมสมองมีคุณภาพ มาเริ่มกันเลยครับ
เคยกันไหม? หลายครั้งที่เราต้องการไอเดียในการทำงาน แต่กลับคิดไม่ออก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะบรรยากาศหรืออะไรหลายๆอย่างก็ตามแต่ ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาได้ ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 2 สิ่งนี้ให้ได้ก่อน คือ
- การประชุม (Meeting) มันคือการช่วยกันหารือ อัพเดทงาน แก้ปัญหาบางอย่างร่วมกัน ฯลฯ
- การระดมสมอง (Brainstorming) คุณต้องนิยามมันว่าเป็นพิธีกรรมอย่างนึง โดยการเอาสมองของคนหลายๆคนมาปั่นรวมกันมั่วซั่วเหมือนกับพายุ เพื่อให้ได้ไอเดียที่หลากหลาย
มีโปรเพสเซอร์ด้านเคมีท่านนึงได้บอกไว้ว่า The best way to hava good idea is to have lot of idea. หมายความว่า ถ้าคุณอยากจะได้ไอเดียที่ดี คุณต้องเริ่มจากมีไอเดียเยอะๆซะก่อน
แล้วเราจะทำยังไงให้ได้ไอเดียออกมาเยอะๆกันหละ เรามาทำความเข้าใจขั้นตอนของการระดมสมองกันก่อน ไอ่การระดมสมองเนี่ยมันยังแบ่งออกเป็นอีก 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
- การสร้างไอเดีย เราจะสังเกตคนประเภทนี้ได้จาก คำพูดของเค้า คนประเภทนี้จะชอบพูดจาประมาณว่า “เห้ย…เอาแบบนี้ไหม” “ลองเปลี่ยนเป็นแบบนี้ไหม” “ถ้าเปลี่ยนเป็นแบบนี้หละจะเป็นยังไง”
- การตัดสินไอเดีย เราจะสังเกตคนประเภทนี้ได้คล้ายๆกับคนประเภทแรกเลย แต่กลับกันคนประเภทนี้จะชอบพูดจาประมาณว่า “เห้ย…อันนี้ก็ดีนะ แต่…บลา บลา บลา”
ลองจินตนาการว่าคุณอยู่ในห้องประชุมกันซัก 4 คน แล้วคุณเป็นคนเดียวที่เสนอไอเดียนู่นนี่นั่น ส่วนที่เหลือเป็นคนตัดสินไอเดีย เมื่อคุณเสนออะไรไปกลับโดนพวกเค้าตัดสิน ตัดทิ้งซะหมด
ความจริงแล้ว วัฒนธรรมในสังคมไทยคนที่เสนอไอเดียจะถูกมองว่าเป็นคนพูดจาไม่รู้เรื่อง เสนออะไรไม่เข้าท่าไปซะหมด ส่วนคนอีกแบบถูกมองเป็นคนมีลอจิก ฉลาดแทนซะงั้น แล้วผลกระทบที่ตามมาเป็นยังไงหละ คนสร้างไอเดียก็ไม่มีกำลังใจ ขาดความมั่นใจที่จะสร้างไอเดียต่อๆไป
การระดมสมองที่ดีนั้น เราควรแบ่งแยกสองสิ่งนี้ออกจากกันให้ได้ เริ่มต้นที่ส่วนแรก การสร้างไอเดีย คุณสามารถให้เวลากับส่วนนี้นิดเดียวก็ได้ แต่ต้องโฟกัสแค่เรื่องนี้จริงๆจังๆเรื่องเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่นให้เวลา 20 นาที ในสร้างไอเดียซัก 200 ไอเดีย อาจจะเริ่มจากไอเดียเล็กๆแล้วต่อยอดให้มันเพิ่มจำนวนขึ้นมาก็ยังได้ แต่ทุกไอเดียก็ใช่ว่าจะใช้ได้ทั้งหมด หลังจากเราทำการรวมไอเดียทั้งหมดเสร็จแล้ว ให้นำมันมาจำแนกหมวดหมู่ซะ เราก็จะได้ไอเดียที่มีคุณภาพมากขึ้น แล้วค่อยมาตัดสินกันต่อไป
ฟังเนื้อหาเต็มได้ที่ แปดบรรทัดครึ่ง EP1 – 3 เทคนิค คิดนอกกรอบ ระดับโลก
ขอบคุณ แปดบรรทัดครึ่ง Podcast